วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

                                            เศรษกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงชีวิต ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา และถูกพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ

เศรษฐกิจพอเพียงมีบทบาทต่อการกำหนดอุดมการณ์การพัฒนาของประเทศ โดยปัญญาชนในสังคมไทยหลายท่านได้ร่วมแสดงความคิดเห็น อย่างเช่น ศ.นพ.ประเวศ วะสี, ศ.เสน่ห์ จามริก, ศ.อภิชัย พันธเสน, และศ.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา โดยเชื่อมโยงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับวัฒนธรรมชุมชน ซึ่งเคยถูกเสนอมาก่อนหน้าโดยองค์กรพัฒนาเอกชนจำนวนหนึ่งนับตั้งแต่พุทธทศวรรษ 2520 และได้ช่วยให้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในสังคมไทย

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในทางเศรษฐกิจและสาขาอื่น ๆ มาร่วมกันประมวลและกลั่นกรองพระราชดำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 และได้จัดทำเป็นบทความเรื่อง "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" และได้นำความกราบบังคลทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2542 โดยทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขพระราชทานและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำบทความที่ทรงแก้ไขแล้วไปเผยแพร่ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนโดยทั่วไป เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ได้รับการเชิดชูเป็นอย่างสูงจากองค์การสหประชาชาติ ว่าเป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ และสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน โดยมีนักวิชาการและนักเศรษฐศาสตร์หลายคนเห็นด้วยกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง แต่ในขณะเดียวกัน บางสื่อได้มีการตั้งคำถามถึงการยกย่องขององค์การสหประชาชาติ รวมทั้งความน่าเชื่อถือของรายงานศึกษาและท่าทีขององค์การ

 

                                                                         

                                                   ประวัติของเศรษฐกิจพอเพียง

 

“เศรษฐกิจพอเพียง” (Sufficiency Economy) เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะ แนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอด รวมถึงการพัฒนาและบริหารประเทศ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ ทางสายกลาง คำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำอย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจที่หลากหลายและไม่ชัดเจน ถึงความหมายและหลักแนวคิดที่แท้จริงของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จึงได้จัดทำหนังสือ “เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร” ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะอธิบายความหมายของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงรวมทั้งกรอบแนวคิดของหลักปรัชญาฯ ที่มุ่งเน้นความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา อันมีคุณลักษณะ ที่สำคัญ คือ สามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกระดับ ตลอดจนได้อธิบายคำนิยามของความพอเพียง ที่ประกอบด้วย ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวภายใต้เงื่อนไขของการตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมที่ต้องอาศัยเงื่อนไขความรู้และเงื่อนไขคุณธรรม

เนื่องในโอกาสพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๕ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๕ ศูนย์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ศธ. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โครงการสนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาและเยาวชน สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และ มูลนิธิสยามกัมมาจล จัดงาน"ตลาดนัดเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา และพิธีมอบป้ายศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง / มอบเกียรติบัตรสถานศึกษาพอเพียง"

ระหว่างวันที่ ๑๙ - ๒๑ ธันวาคม  ๒๕๕๕  ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน จังหวัดชลบุรี จึงขอเชิญชวนท่านผู้สนใจเข้าร่วมชมงานในครั้งนี้ กำหนดการ

ข้อดีและข้อเสีย ของการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียงดีสำหรับผู้ต้องการความสุขความมั่นคงในชีวิตให้เกิดแก่ตนเองและประเทศชาติ

     การดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงมีข้อดีและข้อเสียอยู่ดังนี้คือ

     ข้อดี

   1.มีความเครียดน้อยกว่าการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจการตลาด

         มีหนีสินน้อย ไม่ต้องทำงานหนักเกินกำลัง  ไม่ต้องกังวลต่อการขาดทุนมากมายหากสินค้าขายไม่หมด

   2.ไม่เกิดปัญหาเดือดร้อนมากจากปัจจัยภายนอก

         เสถียรภาพทางเศรษฐกิจจึงดี อย่างเช่นว่า ไม่ต้องไปเดือดร้อนกับราคาปุ๋ยจากต่างประเทศ เพราะสามารถพึ่งตนเองได้จากการทำปุ๋ยหมักใช้เอง                                     3.เป็นอิสระจากอิทธิพลต่างประเทศ

         มีเสรีภาพทางเศรษฐกิจมากกว่าเศรษฐกิจการตลาด เช่นไม่ต้องไปเชิญให้คนต่างประเทศมาเป็นเจ้าของที่ดินได้ ไม่มีความจำเป็นต้องผูกติดกับเงื่อนไขที่ต่างชาติกำหนดให้ปฎิบัติ

   4.ไม่มีปัญหาการตกงาน

        เนื่องจากว่า คนส่วนมากเป็นเจ้าของกิจการเอง เป็นกิจการขนาดเล็กทึ่เหมาะกับแรงงานภายในครอบครัว เมื่อทุกคนเป็นเจ้าของงานเอง ต้องการทำงานก็ทำได้เองไม่ต้องไปสมัคร

  5.สังคมและประเทศชาติสงบร่มเย็น

         การเอาเปรียบลดน้อยลง อาชญากรรมน้อยลง เพราะคนในชาติรุ้จักพอ

  6.ทรัพยากรธรรมชาติไม่ถูกทำลายอย่างรวดเร็ว

        เพราะไม่เร่งการผลิตและการบริโภค และไม่ผลิตพื่อขายเป็นสำคัญ การผลิตเพื่อขายมีไม่มากนัก จึงไม่ต้องใช้ทรัพยากรมากจนเกิดไม่ทัน

  ข้อเสีย

    คำว่า"ดี" หรือ "เสีย" อยู่ที่จะเอาวัตถุประสงค์ใดมาเป็นมาตรฐานวัด สิ่งที่ดีในแง่หนึ่ง อาจเสียอีกแง่หนึ่งก็ได้  เศรษฐกิจพอเพียงดีสำหรับผู้ต้องการความสุขความมั่นคงในชีวิตให้เกิดแก่ตนเองและประเทศชาติ

 ขอขอบคุณ http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87  และhttp://www.gotoknow.org/posts/45221?